หมู่วิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม
ซึ่งอยู่ในหมวดวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้จัดลักษณะเนื้อหาวิชาออกเป็นดังนี้
1. เรื่องทั่วไป
(565-1--)
2. ข้อสนเทศและข้อมูล
(565-2--)
3. ซอฟท์แวร์
(565-3--)
4. ทฤษฎีและการคำนวณ (565-4--)
5. ระเบียบวิธี
(565-5--)
6. การประยุกต์ใช้งาน
(565-6--)
7. ฮาร์ดแวร์และระบบเครื่อง
(565-7--)
8. การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
(565-8--)
9. โครงการพิเศษ ปัญหาพิเศษ วิทยานิพนธ์
โครงการศึกษาเอกเทศการสัมมนา และการวิจัย (565-9--)
หมู่วิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม (565)
รหัสวิชา |
ชื่อวิชา |
น(ท-ป) |
รหัสใหม่ |
รหัสเก่า |
5653201
5653301
5653302
5653303
5653304
5653305
5653306
5653401
5653501
5653601
5653602
5653603
5653604
5653605
5653606
5653607
5653608
5653609
5653610
5653611
5653612
5653613
5653614
5653701
5653702
5653703
5653704
5654501
5654701
5654901
5654902 |
|
การจัดการทรัพยากรข้อมูล
การเขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลี
การเขียนโปรแกรมภาษาโคบอล
การเขียนโปรแกรมภาษาอาร์พีจี
การเขียนโปรแกรมภาษาซีพลัสพลัส
การเขียนโปรแกรมภาษาซีในงานอุตสาหกรรม
วิศวกรรมซอฟท์แวร์
ดิสครีตและโครงสร้างข้อมูล
การวิจัยการดำเนินงานในอุตสาหกรรม
โปรแกรมประยุกต์ด้านการบัญชีและการเงิน
โปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้าคงคลัง
โปรแกรมประยุกต์ด้านงานบุคลากรและการจ่ายเงินเดือน
โปรแกรมประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม
ระบบสารสนเทศสำนักงาน
คอมพิวเตอร์เกี่ยวกับการพิมพ์
การเขียนแบบและออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ในงานควบคุม
ความมั่นคงของระบบ
การพัฒนาระบบในงานอุตสาหกรรม
การจัดการงานวิศวกรรมด้วยคอมพิวเตอร์
การใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่าย
เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานอุตสาหกรรม
สถิติวิศวกรรม
ระบบการสื่อสารข้อมูล
โครงสร้างข้อมูลและสถาปัตยกรรมไมโครคอมพิวเตอร์
ไมโครโปรเซสเซอร์และไมโครคอนโทรลเลอร์
การศึกษาวงจรพื้นฐานและการซ่อมบำรุงไมโครคอมพิวเตอร์
การจำลองและการโมเดลในงานอุตสาหกรรม
การออกแบบดิจิตอลคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
การวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม
การศึกษาเอกเทศด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม |
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(3-0)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2) |
คำอธิบายรายวิชา
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม (565)
รหัส
ชื่อและคำอธิบายรายวิชา
น(ท-ป)
5653201 การจัดการทรัพยากรข้อมูล
3(2-2)
Data Resource Management
เน้นทฤษฎีและการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา และการจัดการทรัพยากร
ข้อมูลขององค์กร บริษัท ทั้งในระดับแนวคิด ตรรกะ และกายภาพ คืองาน
ในการจัดการทรัพยากรข้อมูล
(การบริหารข้อมูล, การบริหารฐานข้อมูล) การวิเคราะห์ข้อมูล
(วิธีการวางแผนหาข้อมูล, แนวคิดรูปแบบข้อมูล, มาตรฐาน
ข้อมูล, ระบบข้อมูลและธุรกิจ,
การจัดการโครงสร้างข้อมูลพื้นฐานของข้อมูล) การออกแบบฐานข้อมูล
(แนวคิดและการใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล, การสนับ
สนุนการตัดสินใจและการดำเนินการฐานข้อมูล,
การปรับข้อมูล, การจัดเก็บ, การสำรองและกู้คืน, ตรรกะขบวนการเชื่อมโยง,
เทคนิคการจัดการเก็บข้อมูล,
การพิจารณาภาษาสำหรับการสืบค้น)
5653301 การเขียนโปรแกรมภาษาแอสเซมบลี
3(2-2)
Assembly Language Programming
เน้นทฤษฎีและปฏิบัติตั้งแต่การศึกษาหลักการพื้นฐานของภาษาแอสเซมบลี
การกำหนดตัวแปร รูปแบบประโยคคำสั่ง คำสั่งกำหนดข้อมูล คำสั่งคำนวณ
คำสั่งทำซ้ำ คำสั่งเงื่อนไข
คำสั่งแมคโคร
การใช้รีจีสเตอร์และการติดต่อกับไมโครโปรเซสเซอร์และฝึกเขียนโปรแกรมติดต่อปฏิบัติการหรือควบคุมส่วนประ
กอบรอบข้างของระบบไมโครคอมพิวเตอร์
5653302 การเขียนโปรแกรมภาษาโคบอล
3(2-2)
COBOL Language Programming
เน้นทฤษฎีตั้งแต่การศึกษาหลักการทั่ว ๆ ไปของภาษาโคบอล การอธิบายตัวข้อมูล
การจัดการข้อมูล ส่วนนำเข้า/แสดงผล การควบคุมการไหลข้อมูล
ตลอดจนลักษณะภาษาด้านอื่น ๆ
และฝึกเขียนโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับงานด้านธุรกิจในส่วนของธุรกิจ, อุตสาหกรรม,
ฯลฯ
5653303 การเขียนโปรแกรมภาษาอาร์พีจี
3(2-2)
RPG Language Programming
เน้นทฤษฎีและปฏิบัติตั้งแต่การศึกษาหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูล ใน
การเขียนโปรแกรมอาร์พีจี การประมวลผลแฟ้มข้อมูล การดำเนินการใน
การคำนวณแถวลำดับ และตาราง
การเขียนโปรแกรมควบคุมและการแก้ไขข้อบกพร่อง
และฝึกเขียนโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับงานด้านรายงานในส่วน
ของธุรกิจ, อุตสาหกรรม, ฯลฯ
5653304 การเขียนโปรแกรมภาษาซีพลัสพลัส
3(2-2)
C++ Language Programming
เน้นทฤษฎีและปฏิบัติตั้งแต่หลักการพื้นฐานของภาษาซีพลัสพลัส
นิพจน์และตัวดำเนินการ การควบคุมการไหลของข้อมูล แถว ลำดับ และตัวชี้ การ
เขียนโปรแกรมเชิงวัตถุฟังก์ชันในการจัดการข้อผิดพลาด
ไลบรารีมาตรฐานและตัวประมวลผลก่อน และฝึกการเขียนโปรแกรมในด้านต่าง ๆ
เชิง
วัตถุด้วยภาษาซีพลัสพลัส
5653305 การเขียนโปรแกรมภาษาซีในงานอุตสาหกรรม
32-2)
C Language Programming in Industrial
เน้นทฤษฎีและปฏิบัติตั้งแต่การศึกษาหลักการพื้นฐานของภาษาซี
ชนิดของข้อมูลนิพจน์และตัวดำเนินการ การควบคุมการไหลของข้อมูล แถวลำดับ
และตัวชี้โครงสร้างและยูเนียน
ไลบรารีมาตรฐานส่วนนำเข้า/แสดงผล สภาพแวดล้อมและฟังก์ชั่นของไลบรารี
และตัวประมวลผลก่อนและฝึกเขียน
โปรแกรมที่เกี่ยวข้อง กับงานอุตสาหกรรม
5653306 วิศวกรรมซอฟท์แวร์
3(2-2)
Software Engineering
ให้เน้นทฤษฎีและปฏิบัติการผลิตซอฟท์แวร์ คือ
ระบบคอมพิวเตอร์เชิงวิศวกรรมการวางแผนโครงการด้วยซอฟท์แวร์
การกำหนดสิ่งที่ต้องการ
ในซอฟท์แวร์ การออกแบบ ซอฟท์แวร์ การเขียนโปรแกรมแปลภาษาและการ ถอดรหัส
การทำคุณภาพของ ซอฟท์แวร์ เทคนิคการทดสอบซอฟท์แวร์ การ
บำรุงรักษาและการจัดการติดตั้งซอฟท์แวร์
5653401 ดิสครีตและโครงสร้างข้อมูล
3(2-2)
Discrete Mathematics and Data Structure
เน้นทฤษฎีและปฏิบัติในเรื่องเซ็ต ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
การนับและความสัมพันธ์เวียนเกิด (Recurrence Relations) ทฤษฎีกราฟ ต้นไม้ และ
การแยกจำพวก (Tree and Sorting) ข่ายงาน (Networks) พีชคณิตแบบบูล (George
Bool) และวงจรเชิงวิธีจัดหมู่ออโตเมตา (Automata)
ระบบเชิงพีชคณิต (Algebraic Systems) โพเซตและแลคทิซ (Poset and Lattice)
และฝึกเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาที่เหมาะสมกับเนื้อหา
ดิสครีตและโครงสร้างข้อมูล
5653501 การวิจัยการดำเนินงานในอุตสาหกรรม
3(2-2)
Operation Research in Industrial
เน้นทฤษฎีและปฏิบัติตั้งแต่หลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงสร้างและแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
ทฤษฎีการตัดสินใจ การเรียนแบบทางสถิติ คิว ทฤษฎี
การแทนที่
การควบคุมสินค้าคงคลัง การวิเคราะห์งาน ตลอดจนทฤษฎีใหม่ ๆ ที่เหมาะสมในงาน
อุตสาหกรรม ตลอดจนการฝึกเขียนและพัฒนาโปรแกรม
เพื่อการวิจัยการดำเนินงานในอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดทักษะในการวิจัยต่อไป
5653601 โปรแกรมประยุกต์ด้านการบัญชีและการเงิน
3(2-2)
Computer Application in Accounting and Finance
เน้นทฤษฎีและปฏิบัติตั้งแต่ศึกษาข้อมูลด้านบัญชีการเงิน เช่น บัญชี เงินเดือน
บัญชีเจ้าหนี้ลูกหนี้ บัญชีสินค้าคงคลัง บัญชีวิเคราะห์ต้นทุนและค่าแรง
บัญชีต้นทุน
และงานผลิตตามคำสั่ง บัญชีเพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและค่าแรง
บัญชีต้นทุนและงานผลิตตามคำสั่ง บัญชีเพื่อวิเคราะห์งบการเงิน ตลอดจนการ
เขียนโปรแกรมประยุกต์ด้วยภาษาด้านการบัญชีและการเงินหรือนำโปรแกรมสำเร็จรูป
มาประยุกต์ใช้กับงานด้านนี้
5653602 โปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้าคงคลัง
3(2-2)
Computer Application in Inventory Control
เน้นทฤษฎีและปฏิบัติตั้งแต่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดซื้อ การรับ
การจัดส่งสินค้า การควบคุมคลังสินค้าคงคลัง การตัดบัญชีสินค้า การวิเคราะห์
การขยาย
และการ ยึดครอง ลอดจนการเขียนโปรแกรมประยุกต์ด้วยภาษาด้านการควบคุม
สินค้าคงคลังหรือนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาประยุกต์ใช้กับงานด้านนี้
5653603 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานบุคลากรและการจ่ายเงินเดือน
3(2-2)
Programming Applications in Personal and Payroll
เน้นทฤษฎีและปฏิบัติตั้งแต่ศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางด้านงานบุคลากรและการจ่ายเงินเดือน
การจัดข้อมูลและการวางระบบข้อมูลด้านนี้ การออกแบบ
รายงานต่าง ๆ
การเขียนโปรแกรมรับข้อมูล การค้นหาข้อมูล และการออกแบบรายงานผลทางด้านนี้
ตลอดจนการเขียนโปรแกรมประยุกต์ด้วยภาษาด้าน
งานบุคลากร และการจ่ายเงินเดือน
หรือนำโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ประยุกต์กับงานด้านนี้
5653604 โปรแกรมประยุกต์ด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม
3(2-2)
Computer Application for Science and Industrial
เน้นทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวข้องกับด้านวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม เช่น อันดับ
และอนุกรม การจัดหมู่ การจัดลำดับ ความน่าจะเป็น ทฤษฎีบท
ทวินาม ฟังก์ชัน การแก้สมการ เวกเตอร์
ความเร็ว ความเร่ง เรขาคณิตศาสตร์วิเคราะห์และแคลคูลัสเบื้องต้น และทฤษฎีอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม
ตลอดจน เขียนโปรแกรมประยุกต์ด้วยภาษา
ด้านงานวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม
หรือศึกษาโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับเนื้อหาวิชาด้านวิทยาศาสตร์และ
อุตสาหกรรม
5653605 ระบบสารสนเทศสำนักงาน
3(2-2)
Office Information Systems
เน้นทฤษฎีและปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสำนักงาน คือ
สภาพแวดล้อมในสำนักงาน (การดำเนินงานแบบรวมศูนย์/กระจายศูนย์, สภาพแวด
ล้อมเชิงวิศวกรรม, เทคโนโลยีการประเมินผล) เทคโนโลยีในสำนักงาน (การสื่อสาร
ทั้งภายในและภายนอก, ภาพพจน์, การเก็บสื่อ, เทคโนโลยีการ
เข้าถึงแบบสาธารณชน, การติดตั้ง, การบำรุงรักษา และความมั่นคงของระบบสารสนเทศ,
การจัดการเพื่อป้องกันการล้าสมัย) การทำงานของผู้ใช้ปลายทาง
(การวิเคราะห์และการสนับสนุน, ระบบศูนย์สารสนเทศ, การร่วมมือกันและการสนับสนุน,
การพัฒนา ผู้ใช้ปลายทาง และการบริหารการต่อต้าน) ตลอดจน
พัฒนาหรือฝึกใช้โปรแกรมสำหรับปฏิบัติงานในสำนักงาน
5653606 คอมพิวเตอร์เกี่ยวกับการพิมพ์
3(2-2)
Computer in Printing Shop
เน้นทฤษฎีและปฏิบัติตั้งแต่ศึกษาระบบการพิมพ์ การเรียงพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์
การเขียนโปรแกรมสำหรับใช้ในการเรียงพิมพ์ และตรวจสอบ
ศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ๆ และทันสมัยเกี่ยวกับการพิมพ์
5653607 การเขียนแบบและออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์
3(2-2)
Computer Drawing and Design
เน้นทฤษฎีและปฏิบัติตั้งแต่ศึกษาหลักการและวิธีใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ในการออกแบบวงจรไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ แผนภูมิสถิติในงานอุตสาหกรรม
และฝึกปฏิบัติการเขียนแบบและออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
5653608 คอมพิวเตอร์ในงานควบคุม
3(2-2)
Computer in Control
การวิเคราะห์การออกแบบฮาร์ดแวร์และโปรแกรมควบคุม
การนำโครงการคอมพิวเตอร์ที่สมบูรณ์แบบมาใช้ในระบบควบคุม การประมาณค่า
พารามิเตอร์
การจำลองแบบทางไดนามิกส์ การจัดตำแหน่งข้อมูล หน่วยความจำโปรเซสเซอร์
การสร้างวิธีการออกแบบ การใช้ไฮบริด และ
ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ในงาน
อุตสาหกรรมให้ได้ใช้โปรแกรมจำลองหรือโปรแกรมปฏิบัติการจริงที่มีอยู่
หรือไปฝึกทักษะในโรงงานอุตสาหกรรม
5653609 ความมั่นคงของระบบ
3(2-2)
Systems Security
เน้นความรู้ด้านทฤษฎีและปฏิบัติในการทำงานเกี่ยวกับการพัฒนา และ
จัดการโปรแกรมที่ทำงานด้านความมั่นคงของระบบ การประเมินความเสี่ยง
(โครงสร้างระบบ
และการประเมินค่าข้อมูลและระบบ, คุณลักษณะ, การปฏิบัติการประเมินความเสี่ยง,
ข้อปลีกย่อยด้านความเสี่ยง, การกู้คืนเพื่อการแยก
และบริการสารสนเทศที่หยุดจังหวะ, การจัดการกู้คืนการจัดเก็บ,
การวางแผนธุรกิจให้ดำเนินต่อไป, การจัดการความย่อยยับ สารสนเทศ) ความมั่นคงของ
ระบบ (การโทรคมนาคม,
ความมั่นคงฐานข้อมูล, การสร้าง รหัสลับ, ระบบปฏิบัติการ,
คอมพิวเตอร์และโครงข่ายท้องถิ่น, ความมั่นคงทางกายภาพ) การ
ออกแบบความมั่นคงในระบบ
(จุดประสงค์ระบบความมั่นคงและการทำงาน, การประกันข้อมูลอันหนึ่งอันเดียวกัน,
ปฏิบัติการวงจรชีวิต) การจัดการความ
มั่นคง (การตั้งนโยบาย
การนำไปใช้และการบริหาร, การเข้าใจความมั่นคง, สารสนเทศด้านจรรยาบรรณ,
การแสดงบุคลิกลักษณะส่วนตัว และการ
ประเมินการวัดค่าความมั่นคง)
ตลอดจนฝึกใช้และ/หรือพัฒนาโปรแกรมสำหรับด้านความมั่นคงของระบบ
5653610 การพัฒนาระบบในงานอุตสาหกรรม
3(2-2)
Systems Development in Industrial
ให้เน้นความรู้ด้านทฤษฎีและปฏิบัติในการวิเคราะห์ระบบ ออกแบบระบบและสร้างระบบ
อีกทั้งบทบาทของนักวิชีพด้านระบบงานในองค์กร การ
วิเคราะห์ระบบ
(ทฤษฎีระบบทั่วไป, การศึกษาขั้นต้น, นิยามของวัตถุประสงค์,
ข้อมูลรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล, ความต้องการของระบบ) การออกแบบ
ระบบและการนำไปใช้
(พิจารณาทางเลือกการออกแบบระบบ, การออกแบบลอจิก, การออกแบบข้อปลีกย่อย,
ความมั่นคงและการควบคุม, ภาวะส่วนตัว,
การนำระบบไปใช้,
การประเมินผลและการ บำรุงรักษาระบบ) การวิเคราะห์ระบบอย่างมืออาชีพ
(บทบาทวงการของระบบอย่างมืออาชีพ, เกณฑ์หาบุคคล
เข้าทำงานอย่างมืออาชีพ,
ทักษะการสื่อสาร, การกำหนดลักษณะของบุคลากรในอุตสาหกรรม)
ฝึกเขียนโปรแกรมพัฒนาระบบในงานอุตสาหกรรม
5653611 การจัดการงานวิศวกรรมด้วยคอมพิวเตอร์
3(2-2)
Computer Aided Engineering Management
ให้เน้นทฤษฎีและปฏิบัติคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ
และคอมพิวเตอร์สำหรับการผลิตในโรงงาน การประยุกต์ใช้ในการออกแบบวงจรลอจิก
วงจร
บอร์ด องค์ประกอบ และระบบเชิงกล อินเตอร์เฟสระหว่างคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบแคด
และคอมพิวเตอร์ นิวเมอริกัล คอนโทรล (ซี เอ็น ซี) หุ่นยนต์
เทคโนโลยีโครงข่าย การจัดการคอมพิวเตอร์ สำหรับการผลิตในงานวิศวกรรม
5653612 การใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่าย
3(2-2)
Using Computer and Networks
เน้นทฤษฎีและการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกลุ่มอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ทั้งในระดับแนวคิด ตรรกะ และกายภาพ งานการจัดการทรัพยากร การ
บริหารทั่วไป เทคนิคการบริหาร
การสนับสนุนผู้ใช้ปลายทาง สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ระบบหน่วยอุปกรณ์ประกอบ
ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ การ
ประยุกต์ระบบซอฟท์แวร์
เทคโนโลยีเครือข่าย ภาพรวมของเครือข่ายระดับท้องถิ่น (LAN) ระดับเมือง (MAN)
และระดับสากล (WAN) มีการฝึกทักษะใน
การใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่ายที่ติดตั้งในงานอุตสาหกรรม
5653613 เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานอุตสาหกรรม
3(2-2)
Information Technology in Industrial Management
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
แหล่งสารสนเทศกับการบริหาร ระบบสำนักงานอัตโนมัติ
การนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์กับการบริหารงาน
อุตสาหกรรมให้ทันสมัยอยู่เสมอ
5653614 สถิติวิศวกรรม
3(3-0)
Engineering Statistics
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสถิติ
ระเบียบวิธีทางสถิติด้านอุตสาหกรรม การรวบรวมและการนำเสนอข้อมูล
ความน่าจะเป็นเบื้องต้น การแจกแจงความน่าจะ
เป็น การสุ่มตัวอย่าง ตัวแปรเชิงสุม
และการแจกแจงตัวแปรเชิงสุ่ม การประมาณค่า พารามิเตอร์ การทดสอบสมมติฐาน
สมมติฐาน แจกแจงแบบปกติ
ทวินามไฮเปอร์จีโอเมตริก ปัวส์ซอง
แกมม่า ไควสแควร์ การแปลงค่าตัวแปรและโมเมนต์
การวิเคราะห์การถดถอยและสหพันธ์เชิงเส้น อนุกรมเวลา
การวิเคราะห์ ความแปรปรวน
การใช้สถิติในการพยากรณ์ทางธุรกิจและอุตสาหกรรม
5653701 ระบบการสื่อสารข้อมูล
3(2-2)
Data Communication System
เน้นทฤษฎีและปฏิบัติตั้งแต่หลักการติดต่อสื่อสาร
หลักการเชื่อมต่ออุปกรณ์รูปแบบมาตรฐานไอเอสโอและมาตรฐานอื่น ๆ
ระบบการติดต่อสื่อสาร โครง
สร้างอุปกรณ์และฮาร์ดแวร์
การใช้และออกแบบระบบสื่อสารข้อมูล
ตลอดจนใช้โปรแกรมด้านการสื่อสารข้อมูลหรือพัฒนาโปรแกรมสำหรับดูแลควบคุม
อุปกรณ์ต่าง ๆ
5653702 โครงสร้างข้อมูลและสถาปัตยกรรมไมโครคอมพิวเตอร์
3(2-2)
Microcomputer Architecture and Data Organization
เน้นทฤษฎีและปฏิบัติตั้งแต่องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ระบบ ลอจิก ดิจิตอล
ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์เชิง
สถาปัตยกรรมวิธีการออกแบบ
การออกแบบระบบประมวลผล ระบบควบคุมองค์ประกอบหน่วยความจำ
ตลอดจนเขียนโปรแกรมเพื่อเรียกใช้ข้อมูลตาม
สถาปัตยกรรมไมโครคอมพิวเตอร์ตามระบบที่ศึกษา
5653703 ไมโครโปรเซสเซอร์และไมโครคอนโทรลเลอร์
3(2-2)
Microprocessor and Microcontroller
เน้นทฤษฎีและปฏิบัติตั้งแต่ศึกษาพื้นฐานของไมโครโปรเซสเซอร์ (ความเป็นมา,
ระบบไมโครคอมพิวเตอร์, บัส) ไมโครโปรเซสเซอร์กับซอฟท์แวร์
(โครงสร้างภายใน, รีจีสเตอร์, ภาษาแอสเซมบลี้) คำสั่งภาษาแอสเซมบลี้
ฮาร์ดแวร์ไมโครโพรเซสเซอร์ หน่วยความจำ การสื่อสารแบบขนาน พอร์ตนำ
เข้า/ส่งออก อินเตอร์รัพต์ และศึกษาไมโครคอนโทรลเลอร์แต่ละรุ่น (คุณสมบัติ,
โหมดการทำงาน, หน่วยความจำ, รีจีสเตอร์, การอ้างแอดเดรสและชุด
คำสั่ง, การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นและการเชื่อมกับอุปกรณ์ภายนอก)
5653704 การศึกษาวงจรพื้นฐานและการซ่อมบำรุงไมโครคอมพิวเตอร์
3(2-2)
Circuit Base Study and Microcomputer Maintenance
เน้นทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับระบบบัส โดยใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ สัญญาณนาฬิกา
การอินเตอร์เฟส หน่วยความจำ หน่วยป้อนข้อมูล หน่วยแสดงผล
ส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อม
หลักการตรวจเช็ค และการซ่อมเบื้องต้น ตลอดจนฝึกปฏิบัติการซ่อมจริง
5654501 การจำลองและการโมเดลในงานอุตสาหกรรม
3(2-2)
Introduction to Simulation in Industrial
เน้นทฤษฎีและปฏิบัติในเรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจำลองปัญหา
การศึกษาตัวอย่างโปรแกรมการจำลองปัญหาเทคนิคการวิเคราะห์พื้นฐาน การ
เลือกภาษา การทดลองปฏิบัติ
การจำลองปัญหาเทคนิคการจำลองข้อมูลนำเข้า
กระบวนการตรวจสอบและความเที่ยงตรงของแบบจำลอง และฝึกเขียน
โปรแกรมหรือใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการจำลองและโมเดลในงานอุตสาหกรรม
5654701 การออกแบบดิจิตอลคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ 3(2-2)
Digital Computer Hardware Design
เน้นทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการออกแบบดิจิตอลคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ทั้งแบบธรรมดา
และแบบขั้นสูงเพื่อใช้เป็นหน่วยควบคุมไมโคร
โปรแกรม เช่น การดีไซน์ลักษณะของเอแอล แครี่ลุคอะเฮด มัลติพลิเคชัน และดิวิชัน
อัลกอริทึมส์ การออกแบบระบบหน่วยความจำ แบบจาน
แม่เหล็กขนาดใหญ่มาก ระบบเทปสำหรับแบคอัพ และระบบหน่วยความจำแบบใช้จานเลเซอร์
และได้มีการฝึกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อใช้ใน
การออกแบบ ตลอดจนสร้างทักษะประกอบความเข้าใจในการออกแบบดิจิตอลคอมพิวเตอร์เชิงฮาร์ดแวร์
5654901 การวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม
3(2-2)
Research for Industrial Computer Technology Development
ให้เน้นทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับทฤษฎีและหลักการวิจัย
การกำหนดหัวข้อวิจัยวัตถุประสงค์และขอบเขตของการวิจัย การวางแผนการวิจัย
การเขียน
โครงการวิจัย การสร้างแบบวิจัย การสร้างและใช้เครื่องมือในการวิจัย
ขั้นตอนในการวิจัย การเริ่มทำการวิจัย การเก็บข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
การแปลความหมายข้อมูล การสรุปผลการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย
การเสนอผลงานวิจัย และให้ทำการวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
อุตสาหกรรม โดยสอดคล้องกับกลุ่มและวิชาที่เลือกเรียน
โดยคำนึงถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศเพื่อ
การพึ่งพาตนเองของชุมชน และสังคมอย่างมั่นคง
โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการในภาควิชาหรือโปรแกรมวิชา
5654902 การศึกษาเอกเทศด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม
3(2-2)
Independent Study in Industrial Computer Programming
ศึกษาปัญหาทั่วไปและปัญหาเฉพาะเรื่องเพื่อหาวิธีแก้ปัญหา การเขียน ผังงาน
เพื่อแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหา การเขียนโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์
ภาษาใดภาษาหนึ่ง หรือหลายภาษา เพื่อใช้งานหรือแก้ปัญหานั้น
ตลอดจนการทำโครงการพิเศษทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีใช้ในอุตสาหกรรมเป็นหลัก |