หมู่วิชาศิลปหัตถกรรม ซึ่งอยู่ในหมวดวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ได้จัดลักษณะเนื้อหาวิชา ดังนี้
1. ทั่วไป (553-1--)
2. เครื่องไม้และหวาย (553-2--)
3. โลหะรูปพรรณ (553-3--)
4. เครื่องมือ อุปกรณ์ และการเผา (553-4--)
5. วัสดุต่าง ๆ (553-5--)
6. ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ (553-6--)
7. เครื่องหล่อ (553-7--)
8. การฝึกงาน (553-8--)
9. โครงการพิเศษ ปัญหาพิเศษ วิทยานิพนธ์ โครงการศึกษาเอกเทศ
การสัมมนา และการวิจัย
(553-9--)
หมู่วิชาศิลปหัตถกรรม (553)
รหัสวิชา |
ชื่อวิชา |
น(ท-ป) |
รหัสใหม่ |
รหัสเก่า |
5531101
5531102
5531103
5531301
5531501
5531601
5531602
5532101
5532102
5532301
5532501
5533101
5533201
5533202
5533203
5533204
5533205
5533206
5533207
5533208
5533209
5533210
5533301
5533302
5533303
5533304 5533305
5533401
5533402
5533403
5533404
5533405
5533406
5533501
5533502
5533503
5533504
5533505
5533506
5533601
5533602
5533603
5533604
5533605
5533606
5533701
5533702
5533703
5533704
5533705
5533706
5533707
5533708
5533709 5533710
5533711
5533712
5534101
5534102
5534103
5534104
5534105
5534201
5534202
5534203
5534204
5534205
5534206
5534207
5534208
5534301
5534302
5534303
5534401
5534402
5534403
5534404
5534405
5534406
5534407
5534501
5534502 5534503
5534504
5534505
5534506
5534601
5534602
5534603
5534604
5534701
5534702
5534703
5534704
5534705
5534706
5534707
5534901
5534902
5534903
5534904
5534905
5534906
5534907
5534908
5534909 |
|
หัตถกรรมประจำท้องถิ่น
งานออกแบบศิลปหัตถกรรม 1
งานออกแบบศิลปหัตถกรรม 2
งานโลหะประดิษฐ์
งานพิมพ์ 1
งานหนัง
การฟอกหนัง
งานประดิษฐ์ทั่วไป
งานประดิษฐ์เศษวัสดุ
งานหล่อชุบ
งานถักทอ
งานกระดาษ
ออกแบบเขียนแบบงานไม้หัตถกรรม
เครื่องมือและเครื่องจักรในงานไม้หัตถกรรม
การเคลือบผิว
ไม้ประดิษฐ์
งานครุภัณฑ์ 1
งานครุภัณฑ์ 2
งานออกแบบ-เขียนแบบงานไม้ไผ่และหวาย
งานประดิษฐ์ติดต่อไม้ไผ่และหวาย
เทคนิคงานสาน 1
งานสานประกอบ
งานแกะสลักดุน 1
งานแกะสลักดุน 2
งานแกะสลักดุน 3
การชุบโลหะ 1
การชุบโลหะ 2
งานเครื่องรัก 1
งานเครื่องรัก 2
งานเครื่องรัก 3
งานเครื่องรัก 4
งานเครื่องรัก 5
งานเครื่องรัก 6
งานทอ 1
งานทอ 2
งานทอ 3
งานย้อม 1
งานย้อม 2
งานพิมพ์ 2
สีย้อมหนัง
การออกแบบรูปทรงและลวดลาย
งานเครื่องหนังอุตสาหกรรม
การสร้างเครื่องมืออุปกรณ์งานหนัง
การออกแบบและผลิตงานหนังเฟอร์นิเจอร์
การออกแบบและผลิตกระเป๋า
งานหล่อปูนปลาสเตอร์ 1
งานหล่อปูนปลาสเตอร์ 2
งานหล่อปูนปลาสเตอร์ 3
งานหล่อซีเมนต์ 1
งานหล่อซีเมนต์ 2
งานหล่อขี้ผึ้ง
งานหล่อพลาสติก 1
งานหล่อพลาสติก 2
พลาสติกเบื้องต้น
ออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติก
เทคโนโลยีการเคลือบพลาสติก
เทคโนโลยีการทำแม่แบบหล่อพลาสติก
งานพลาสติก
งานประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็กและสื่อการสอน
หลักการออกแบบงานศิลปหัตถกรรม
การพัฒนาหัตถกรรมพื้นบ้าน
เทคโนโลยีในงานศิลปหัตถกรรม
งานแกะสลักลวดลาย
งานแกะสลักรูปลอยตัว
งานกลึงเครื่องใช้
งานกลึงเครื่องประดับ
งานไม้ไผ่และงานหวาย
เทคนิคงานสาน 2
งานเครื่องเรือน
เทคโนโลยีงานไม้ไผ่และหวาย
งานแม่พิมพ์ ปั้น ชุบโลหะ
การชุบและการรมสีบนผิวโลหะ
การลงยาสี
งานประดิษฐ์เครื่องถม
งานเครื่องเขิน
งานเครื่องรัก 7
งานเครื่องรัก 8
งานเครื่องรัก 9
งานเครื่องรัก 10
งานเครื่องรัก 11
งานเขียนผ้าบาติก
งานพิมพ์ 3
งานซิลค์สกรีน
งานเขียนลายบนผ้า
งานบาติกมัดย้อม
การสร้างและการซ่อมเครื่องใช้ในงานทอย้อมแบบพื้นบ้าน
การออกแบบและผลิตรองเท้า
การออกแบบและผลิตงานหนังเบ็ดเตล็ด
การผลิตงานหนังในท้องถิ่น
การฝึกอบรมควบคุมโรงงาน
งานหล่อโลหะ 1
งานหล่อโลหะ 2
งานหล่อโลหะ 3
เทคโนโลยีการเชื่อมพลาสติก
ออกแบบไฟเบอร์กล๊าส 1
ออกแบบไฟเบอร์กล๊าส 2
ระบบการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก
งานศึกษาค้นคว้าด้านศิลปหัตถกรรม
วิทยานิพนธ์ 1
วิทยานิพนธ์ 2
วิทยานิพนธ์ 3
วิทยานิพนธ์ 4
วิทยานิพนธ์ 5
วิทยานิพนธ์ 6
วิทยานิพนธ์ 7
ปัญหาพิเศษศิลปหัตถกรรม |
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(2-0)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
3(2-2)
2(2-0)
2(1-2)
3(2-2)
3)2-2)
3(2-2)
2(1-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2) 3(2-2)
2(1-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
2(1-2)
2(1-2)
3(2-2)
2(1-2)
3(2-2)
2(2-0)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
2(2-0)
3(2-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(2-0) 2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(2-0)
2(2-0)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
2(1-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
2(1-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
2(1-2)
3(2-2) 3(2-2)
3(2-2)
3(2-2)
2(1-2)
3(2-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(2-0)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2)
2(1-2) |
คำอธิบายรายวิชา
หมู่วิชาศิลปหัตถกรรม (553)
รหัส ชื่อและคำอธิบายรายวิชา น(ท-ป)
5531101 หัตถกรรมประจำท้องถิ่น 2(1-2)
Native Crafts
ศึกษาถึงคุณค่าของงานอุตสาหกรรมในครอบครัวที่มีอยู่ในส่วนต่าง ๆ
ของประเทศไทย โดยเฉพาะในท้องถิ่นของตน
การปรับปรุงออกแบบแก้ไข
กรรมวิธีสำหรับการดำเนินงานเกี่ยวกับการผลิตอุตสาหกรรมในครอบครัว
เช่น งานประดิษฐ์ งานจักรสาน ถักทอ แกะสลัก งานหนัง งานหวาย ฯลฯ
ทั้งนี้
มุ่งไปในทางส่งเสริมอุตสาหกรรมพื้นเมือง
โดยการให้ผู้เรียนเกิดทักษะในงานหัตถกรรม
5531102 งานออกแบบศิลปหัตถกรรม 1 2(1-2)
Native Crafts Design 1
องค์ประกอบของการออกแบบงานศิลปหัตถกรรมเบื้องต้น
โดยศึกษาลายไทยลายสากล
เพื่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในเรื่องของรูปแบบ
เนื้อหา
และค่านิยมในสาขางานศิลปหัตถกรรม
โดยให้เรียนรู้ถึงคุณค่าของอุตสาหกรรมในครัวเรือนและท้องถิ่นเพื่อให้มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหา
รู้จักบำรุงรักษาเครื่องมือ และใช้เครื่องมือปฏิบัติงานศิลปหัตถกรรม
ตลอดจนสามารถดัดแปลงเครื่องมือและวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น
5531103 งานออกแบบศิลปหัตถกรรม 2 2(1-2)
Native Crafts Design 2
ฝึกหัดการออกแบบที่จะนำไปใช้เกี่ยวกับการผลิต
การใช้เครื่องมือและการเลือกวัสดุต่าง ๆ รวมทั้งการปรับปรุงแก้ไข
การดัดแปลง เพื่อนำมาประดิษฐ์
ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ตลอดจนศึกษาเกี่ยวกับปัญหาของงานศิลปหัตถกรรม หรืออุตสาหกรรมในท้องถิ่น
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการแก้ปัญหาและให้บังเกิด
ผลทางเศรษฐกิจ
สังคมในท้องถิ่น
5531301 งานโลหะประดิษฐ์ 2(1-2)
Metal Crafts
ศึกษาถึงคุณสมบัติของโลหะ การทำเครื่องใช้
เครื่องประดับตกแต่งด้วยโลหะชนิดต่าง ๆ เช่น ทองเหลือง ทองแดง อลูมินัม
ดีบุก เหล็ก เป็นต้น การ
ขึ้นรูปหรือทำลวดลายโลหะด้วยวิธี บุ เคาะ หล่อ
พิมพ์ กัดลาย ฉลุ ฯลฯ ศึกษากระบวนการและกรรมวิธีการออกแบบ
และการตกแต่งในขั้นสำเร็จ เช่น
การเคลือบ การใช้สี
ตลอดจนกระบวนการทางเคมีและความร้อน เทคนิคการตัด ติด ต่อ วิธีต่าง ๆ
เช่น บัดกรี เชื่อมย้ำ
5531501 งานพิมพ์ 1 2(1-2)
Graphic Arts 1
กรรมวิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการพิมพ์ เช่น
การเรียงพิมพ์ การพิมพ์ การทำกระดาษการพิมพ์แบบตะแรงไหม (Silk Screen)
การพิมพ์แบบ
Lithography การพิมพ์แบบ Platenpress การทำแม่พิมพ์หรือบล๊อกด้วยมือ
การทำและเย็บปกหนังสือ การใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น เครื่องโรเนียว
รวมทั้งการพิมพ์ผ้าและกระดาษ สามารถนำไปใช้ทำเครื่องอุปกรณ์
การสอนเกี่ยวกับการพิมพ์ หลักและวิธีใหม่ ๆ เกี่ยวกับการพิมพ์
5531601 งานหนัง 2(1-2)
Leather Working
ประวัติความเป็นมา
และประโยชน์ที่ได้รับจากหนังสัตว์ หนังเทียม ประเภทของหนังเบ็ดเคล็ด
งานหนังอุตสาหกรรม วิธีการฟอกหนัง การย้อมสีหนัง
เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการผลิต
การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหนังล้วน และหนังประกอบกับวัสดุอื่น เช่น
ผ้า เสื่อ หรือหางอวน ฯลฯ
การทำลวดลายผลิตภัณฑ์หนังโดยการดุนให้เกิดลวดลายโดยใช้เครื่องมือการแกะออกหรือติดเข้าไป
เพื่อให้เกิดลักษณะผิวที่ต่างกันประกอบเป็นเครื่องใช้
การบุหนังเฟอร์นิเจอร์
5531602 การฟอกหนัง 2(2-0)
De-Coloring
ศึกษาโครงสร้างและประเภทของสัตว์ การรักษาหนังดิน
การฟอกหนัง ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ฟอกฝาด การฟอกโครม เคมีภัณฑ์ วัสดุ
อุปกรณ์ และ
เครื่องมือที่ใช้ใน การฟอก การตกแต่งผิว-สี
5532101 งานประดิษฐ์ทั่วไป 2(1-2)
General Crafts
ฝึกหัดการออกแบบที่จะนำไปใช้เกี่ยวกับการถัก
การเย็บ รู้จักเครื่องมือและวัสดุการเลือกวัสดุต่าง ๆ
เพื่อนำมาประดิษฐ์ของใช้ เช่น ไหมพรม ผ้าแพร
กำมะหยี่สักหลาด
และวัสดุที่เป็นโลหะต่าง ๆ เพื่อจะนำไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ
และในพิธีการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ฝึกหัดทำพวงมาลัย อุบะ
บุหงา
ฯลฯ และตัดกระดาษ ประดิษฐ์ของชำร่วย วัสดุเหลือใช้
และซ่อมปรับปรุงของที่ไม่ใช้แล้วให้มีคุณค่าขึ้นเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย
5532102 งานประดิษฐ์เศษวัสดุ
2(1-2)
Scrap Material Crafts
ให้นักเรียนมีความรู้และทักษะในการเลือกและการประดิษฐ์ตกแต่ง
ตลอดจนเทคนิคเกี่ยวกับวัสดุต่าง ๆ
เพื่อความงามและเป็นประโยชน์ต่อชีวิต
ประจำวัน
สามารถถ่ายโยงแก่ผู้อื่นได้ เช่น เปลือกพืช เมล็ดพืช เห็ดแห้ง
เปลือกหอย ไม้ไผ่ หิน และก้อนกรวดสีต่าง ๆ กระจกสี แก้ว พลาสติก โลหะ
หนัง
ป่าน ปอ กก ลาน เชือกกล้วยหางอวน กระดาษ เศษผ้า ริบบิ้น ฟาง
ไหมพรม เชือก ด้ายต่าง ๆ ฯลฯ เป็นต้น
นำมาประดิษฐ์ตกแต่งเป็นตุ๊กตาแบบและชนิด
ต่าง ๆ เครื่องห้อย และแขวน
ภาพประดับผนังกระเป๋า ย่าม ที่รองภาชนะ ดอกไม้ กำไล แหวน
สายสร้อยที่ห้อยคอ ที่รัดผม ตุ้มหู กระดุม สายนาฬิกา
รองเท้าแตะ
พรมเช็ดเท้า กล่องซองแว่นตา ซองจดหมาย ที่เขี่ยบุหรี่ ที่ทับกระดาษ
ที่แขวนเสื้อ ฯลฯ เป็นต้น
5532301 งานหล่อชุบ 2(1-2)
Casting and Plating
การหล่อโลหะที่ไม่ใช้เหล็ก เช่น ดีบุก ตะกั่ว ทองแดง ทองเหลือง สำริด
อลูนินัม เป็นต้น รวมทั้งการหล่ออโลหะสาร เช่น ดิน ปูนปลาสเตอร์
และ
พลาสติก ฯลฯการทำแบบหล่อ กรรมวิธีและเทคนิคการหล่อ
การออกแบบชิ้นงานให้เป็นประโยชน์ต่อการใช้งาน และมีคุณค่าในทางศิลปะ
การขัดผิวและ
การทำขั้นสำเร็จศึกษาถึงกระบวนการทางเคมีไฟฟ้าที่ใช้ในการชุบเคลือบผิวแบบง่าย ๆ เช่น
ชุบทองแดง ชุบทอง เป็นต้น กรรมวิธีและเทคนิคในการชุบ
เช่น
การทำความสะอาดชิ้นงาน การผสมน้ำยา การขัดมัน เป็นต้น
5532501 งานถักทอ 2(1-2)
Weaving
ศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของงานถักทอวัสดุต่าง ๆ
ที่ใช้ในการถักทอกรรมวิธีการผลิตวัสดุต่าง ๆ ที่นำมาถักทอ
กรรมวิธีการย้อมวัสดุ เช่น
ด้าย ไหม ป่านกระสอบ ฯลฯ
การออกแบบลวดลายและสีงานถักทอ
รู้จักดัดแปลงนำวัสดุอื่นมาผสมกันระหว่างเส้นยืนกับเส้นนอน ลักษณะการทอ
และงาน
ที่ทอออกมาให้มีความรู้เรื่องความเป็นมาของเครื่องทอ ชนิดของของที่ใช้ในการถักทอ
ศึกษาถึงหน้าที่และวิธีการของเครื่องมือแต่ละชิ้นในงานถักทอ
การ
ทอพรมเช็ดหน้า กระเป๋า และถักที่แขวนกระถาง ฯลฯ
โดยแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์
5533101 งานกระดาษ 2(1-2)
Paper Work
ประวัติความเป็นมาของกระดาษ เครื่องมือ อุปกรณ์
และกรรมวิธีการผลิตกระดาษ ประโยชน์ที่ได้รับจากกระดาษ
ความสำคัญและคุณค่าของกระดาษ
ที่มีต่อการ ศึกษาในระดับต่าง ๆ
ตลอดจนธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม ชนิดของกระดาษที่มีอยู่ในท้องตลาด
การออกแบบอุปกรณ์ของใช้ ของประดับที่
เหมาะสมกับวัสดุกระดาษต่าง ๆ
พับให้เกิดรูปทรงที่ต่างกันออกไป เช่น รูปสัตว์ต่าง ๆ
การใช้กระดาษประกอบ วัสดุอื่นเพื่อประดิษฐ์เป็นของใช้
แสดงออกถึง
ความประณีตและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
เทคนิคการทำงานเกี่ยวกับกระดาษชนิดต่าง ๆ เช่น การตัด การพับ ดัน ดุน
และ ติด ต่อโดยวิธีต่าง ๆ
5533201 ออกแบบ เขียนแบบงานไม้หัตถกรรม 3(2-2)
Wood Craft Design
ศึกษาและปฏิบัติให้เกิดความรู้ในการออกแบบ
องค์ประกอบในการออกแบบเขียนแบบงานไม้
เพื่อให้เกิดคุณค่าทางศิลปะและประโยชน์ใช้สอย
ทฤษฎีการออกแบบและสีกับการออกแบบงานไม้หัตถกรรม ลักษณะรูปทรงต่าง ๆ
ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ เขียนแบบ
และปฏิบัติถึงขั้นตอน
การถ่ายแบบและการเขียนภาพเหมือนจริงการเขียนแบบร่างและหุ่นจำลอง
การแยกรายการและประเมินผลโดยละเอียด
5533202 เครื่องมือและเครื่องจักรในงานไม้หัตถกรรม 2(2-0)
Wood Craft Tools and Machines
วิวัฒนาการเกี่ยวกับเครื่องมือ
เครื่องจักรในงานไม้หัตถกรรม ประเภท ชนิดของเครื่องมือ
เครื่องจักรที่ใช้เกี่ยวกับงานไม้หัตถกรรม
ฝึกและปฏิบัติถึง
วิธีการใช้เครื่องมือเครื่องจักรแต่ละประเภท
เพื่อให้เกิดทักษะ ตลอดจนการบำรุงรักษา ข้อปฏิบัติ ต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ
เครื่องจักรแต่ละประเภท
5533203 การเคลือบผิว 2(1-2)
Glaze
วิวัฒนาการของการเคลือบผิว งานเฟอร์นิเจอร์ ประเภท
ชนิดและคุณภาพของวัสดุที่ใช้ในการเคลือบผิวโดยละเอียด
ฝึกและปฏิบัติเกี่ยวกับการผสม
และขั้นตอนของการเคลือบผิวด้วยวัสดุเคลือบประเภทต่าง ๆ
ปฏิบัติถึงการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเคลือบ
ตลอดจนการบำรุงรักษา
5533204 ไม้ประดิษฐ์ 3(2-2)
Wood Crafts
ออกแบบ เขียนแบบ ขยายแบบ และแยกรายการ
การเตรียมวัสดุให้เหมาะสมกับงานไม้ประดิษฐ์
เพื่อให้เกิดคุณค่าทางด้านความงามและประโยชน์
ใช้สอย
ศึกษาถึงการใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ช่วยในการประดิษฐ์
ศึกษาถึงเทคนิคในการตกแต่งและเคลือบผิวชิ้นงานด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ
วิเคราะห์และ
ปฏิบัติงานประดิษฐ์ เช่น แจกัน ถาด ฯลฯ
5533205 งานครุภัณฑ์ 1 3(2-2)
Furniture 1
ออกแบบ เขียนแบบ ขยายแบบ และแยกรายการ
การเตรียมวัสดุให้เหมาะสมกับงานไม้ครุภัณฑ์
เพื่อให้เกิดคุณภาพและประโยชน์ใช้สอย
การใช้
เครื่องมือและอุปกรณ์ตลอดจนการบำรุงรักษา
เทคนิคในการตกแต่งและเคลือบผิวชิ้นงานด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ
วิเคราะห์และปฏิบัติงานครุภัณฑ์ เช่น ทำโต๊ะ
เก้าอี้
ทำม้านั่ง ฯลฯ
5533206 งานครุภัณฑ์ 2 3(2-2)
Furniture 2
ออกแบบ เขียนแบบ ขยายแบบ และแยกรายการ
การเตรียมวัสดุให้เหมาะสมกับงานครุภัณฑ์
เพื่อให้เกิดคุณภาพและประโยชน์ใช้สอย
การใช้เครื่อง
มือและอุปกรณ์งานครุภัณฑ์ ตลอดจนการเก็บและบำรุงรักษา
เทคนิคในการตกแต่งและเคลือบผิวชิ้นงาน ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ โดยละเอียด
วิเคราะห์ และ
ปฏิบัติงานครุภัณฑ์ 2 เช่น ทำตู้ ทำชั้น ฯลฯ
5533207 งานออกแบบ-เขียนแบบงานไม้ไผ่และหวาย 2(1-2)
Bamboo and Rattan Design
ศึกษาการออกแบบ เขียนแบบผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่และหวาย ให้มีคุณค่าทางศิลปะ
ประโยชน์ใช้สอย และพัฒนาไปสู่กระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม
ตลอดจนศึกษาค้นคว้าพัฒนางานด้านหัตถกรรมในท้องถิ่น
งานอุตสาหกรรมในครัวเรือน
โดยสร้างสรรค์รูปแบบกรรมวิธีการตลาดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5533208 งานประดิษฐ์ติดต่อไม้ไผ่และหวาย 3(2-2)
Bamboo and Rattan Crafts
ศึกษาค้นคว้า ทดลอง คุณสมบัติ
วัสดุที่ใช้ในงานไม้ไผ่และหวายอย่างละเอียด
ศึกษาการใช้เครื่องมือเครื่องจักรในงานไม้ไผ่อย่างละเอียด
ให้ปฏิบัติ
งานออกแบบเขียนแบบเกี่ยวกับงานประดิษฐ์ติดต่อเพื่อให้เกิดคุณค่า
ด้านประโยชน์ใช้สอยและความงาม ฝึกปฏิบัติทดลองใช้เกี่ยวกับ การผูก
การพัน
ในงานประดิษฐ์และติดต่อ ตลอดจนการย้อมผิว
เคลือบผิวในงานดังกล่าว
5533209 เทคนิคงานสาน 1 3(2-2)
Weaving Techniques 1
ศึกษาค้นคว้า ทดลองเกี่ยวกับลายสานชนิดต่าง ๆ อย่างละเอียด
ศึกษาการเข้าขอบงานสานผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ โดยนำลายสานชนิดต่าง ๆ
ไปใช้ให้
เหมาะสมกับงานแต่ละชนิด
ให้ฝึกปฏิบัติการสานผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่งและอื่น ๆ
อย่างเหมาะสม ตลอดจนการถักและการเคลือบผิว
5533210 งานสานประกอบ 3(2-2)
Weaving Components
ศึกษาทดลองแบบอย่างลายเส้น การออกแบบ เขียนแบบ
งานสาน ประกอบและการนำลายสานไปประกอบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
โดยดัดแปลงประยุกต์งาน
รวมทั้งการสานลายฉลุชนิดต่าง ๆ การถัก การผูก
และการพัน ตลอดจนเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงาน
5533301 งานแกะสลักดุน 1
3(2-2)
Embossing 1
ให้มีความรู้ความสามารถในการออกแบบ กำหนดขนาดภาพ
ลวดลายบนแผ่นโลหะที่มาดุน แกะสลัก ส่วนผสมของชัน สามารถสลักดุน
เครื่องใช้
เครื่องประดับ เช่น ภาพไทย ภาพสากล ตัวอักษร ฯลฯ
ด้วยวิธีเคาะรูป ขัดเงา ชุบเงิน ชุบทอง การประกอบชิ้นส่วน
การออกแบบและการแกะสลักดุน เป็น
เครื่องใช้ เครื่องประดับ
ตกแต่งทั้งภายนอกภายใน ตราสัญลักษณ์ เครื่องหมายต่าง ๆ ด้วยโลหะ เช่น
ทองแดง ทองเหลือง เงิน ฯลฯ
5533302 งานแกะสลักดุน 2
3(2-2)
Embossing 2
ออกแบบงานดุนโลหะแบบต่าง ๆ เป็นเครื่องประดับ
ตกแต่งใช้สอย กำหนดขนาดภาพลวดลาย วัสดุอุปกรณ์
เครื่องใช้ทั้งแบบไทย-สากล เช่น
คนเหมือน ดวงตราภาพไทย ประกอบลาย
ลายสากล ฯลฯ ด้วยวิธีเคาะ ขึ้นรูป ขัดเงา รมดำ ชุบเงิน ชุบทอง
ประกอบชิ้นส่วนสำเร็จ
5533303 งานแกะสลักดุน 3
3(2-2)
Embossing 3
ออกแบบ กำหนดขนาดภาพ ลวดลาย
ภาพประกอบเป็นเครื่องใช้ประดับตกแต่ง ภายนอก ภายใน ตราสัญลักษณ์
เครื่องหมายต่าง ๆ ฯลฯ เคาะ ขึ้นรูป
ด้วยโลหะชนิดต่าง ๆ
ที่เหมาะกับการตกแต่งส่วนละเอียด ขัดเงา ชุบเงิน
ประกอบชิ้นส่วนสำเร็จรูป
5533304 การชุบโลหะ 1
3(2-2)
Metal Planning 1
การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ สารเคมี เครื่องมือ การชุบ
เข้าใจการใช้แบตเตอรี่ เครื่องมือแปลงกระแสไฟฟ้า
เข้าใจการนำชิ้นงานที่ชุบมาเคลือยผิวโลหะ
การใช้น้ำชุบ
ป้องกันผิวหมองคล้ำ ประเภทเงิน ชุบทองแดง ชุบนาก ชุบทองคำขาว (โรเดี้ยม)
ชุบโครเมี่ยม ฯลฯ ชุบบนรูปพรรณชิ้นงาน ประเภทเครื่องใช้
ประดับ เช่น
เข็มกลัดเสื้อ เข็มขัด กำไล แหวน ต่างหู ฯลฯ ขันน้ำ ถาด ที่เขี่ยบุหรี่
กรอบรูป ฯลฯ
5533305 การชุบโลหะ 2
3(2-2)
Metal Planning 2
วิธีการเคลือบผิวโลหะ การป้องกันผิวโลหะต่าง ๆ ที่ชุบแล้ว เช่น เงิน
ทองแดงโลหะผสมทองแดง การใช้ยา ประเภทชุบเงิน นาก ทองคำขาว
(โรเดี้ยม)
โครเมี่ยม และการชุบงาน รูปพรรณประเภทเครื่องใช้
เครื่องประดับที่ยากขึ้น
5533401 งานเครื่องรัก 1
2(1-2)
Lacquerware Crafts 1
การออกแบบงานเครื่องรัก ศึกษาค้นคว้า
รูปแบบลวดลายประจำชาติและสากล ปฏิบัติการออกแบบ
ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับงานเครื่องรักในสภาพ
ปัจจุบัน
5533402 งานเครื่องรัก 2
3(2-2)
Lacquerware Crafts 2
การพิมพ์รักให้เป็นลวดลาย
ศึกษาวิธีการและแบบอย่างงานพิมพ์ของช่างไทยโบราณ
เพื่อผดุงรักษาและนำมาดัดแปลงใช้ตามยุคสมัย เครื่องมือ
เครื่องใช้
วัสดุอุปกรณ์ การปฏิบัติการออกแบบหุ่นและลวดลาย วิธีการแกะลาย
วิธีผสมรักพิมพ์ การพิมพ์ลาย การประดับลายตีพิมพ์ การเคลือบยาลวดลาย
การติดประดับพลอย
5533403 งานเครื่องรัก 3
3(2-2)
Lacquerware Crafts 3
งานเครื่องรักประกอบสถาปัตยกรรม 1
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทยและสากล
เพื่อให้เข้าใจถึงส่วนประกอบของสถาปัตยกรรมที่
สามารถนำกรรมวิธีในงานเครื่องรักไปประยุกต์ใช้ในการประดับตกแต่ง
ส่วนประกอบของสถาปัตยกรรม
ปฏิบัติการออกแบบเครื่องรักประกอบในงาน
สถาปัตยกรรม
ปฏิบัติการเกี่ยวกับเครื่องรักในงานสถาปัตยกรรมที่ได้ออกแบบไว้
5533404 งานเครื่องรัก 4
3(2-2)
Lacquerware Crafts 4
งานเครื่องรักประกอบสถาปัตยกรรม 2
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบการประดิษฐ์เครื่องรักในการตกแต่ง
ส่วนประกอบของสถาปัตยกรรมต่อ
จากรายวิชาเครื่องรัก 3
5533405 งานเครื่องรัก 5
3(2-2)
Lacquerware Crafts 5
งานเครื่องรักประกอบครุภัณฑ์ 1
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับงานครุภัณฑ์ที่สามารถนำกรรมวิธีในงานเครื่องรักไปประยุกต์ใช้ในการประดับตกแต่ง
ครุภัณฑ์
การออกแบบงานประดับตกแต่งครุภัณฑ์ด้วยเครื่องรัก
ปฏิบัติการประดับตกแต่งครุภัณฑ์ตามที่ได้ออกแบบไว้
5533406 งานเครื่องรัก 6
3(2-2)
Lacquerware Crafts 6
งานเครื่องรักประกอบครุภัณฑ์ 2
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบและการประดับตกแต่งงานครุภัณฑ์ด้วยกรรมวิธีงานเครื่องรักต่อจากรายวิชา
งานเครื่องรัก
5
5533501 งานทอ 1
3(2-2)
Weaving 1
ศึกษาคุณสมบัติของวัสดุท้องถิ่นที่นำมาใช้ในงานทอ
การใช้สีย้อม อุปกรณ์ในการทอ ชนิดของกี่แบบต่าง ๆ เช่น กี่กระตุก
กี่พื้นเมือง กี่ยืน กี่กระดาษ
หรือ กี่ประยุกต์แบบต่าง ๆ
ตามความคิดสร้างสรรค์ให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานปฏิบัติการ
ทอโดยการนำเอาวัสดุท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้กับวัสดุอื่นได้
และรู้จักการบำรุงรักษาที่ถูกต้อง
5533502 งานทอ 2
3(2-2)
Weaving 2
ศึกษาหลักและองค์ประกอบของการออกแบบ การเขียนลวดลาย การเขียนกราฟ
การย่อ ขยายแบบ การผสมสีและการย้อมสีชนิดต่าง ๆ
คุณสมบัติของ
สารเคมีและวัสดุเส้นใยต่าง ๆ แยกประเภทของวัสดุเส้นใย
ตามคุณสมบัติที่จะนำไปใช้ประกอบการทอย้อม ฝึกการทอย้อมวัสดุชนิดต่าง ๆ
ตามความ
เหมาะสม สามารถนำสิ่งทอย้อมสำเร็จไปใช้ประดิษฐ์ตกแต่ง
ทำเครื่องประดับ เครื่องเล่น และนำไปประยุกต์เข้ากับวัสดุ อื่นได้
5533503 งานทอ 3
3(2-2)
Weaving 3
ศึกษาวิธีการทอย้อมผ้ามัดหมี่ และผ้าตีนจกพื้นเมือง
ตลอดจนการทอผ้าของชาวเขา การออกแบบ ลวดลาย การถักลาย การเขียนกราฟ
กรรมวิธีการใช้
สี เส้นด้ายผ้าและเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ศิลปการมัดย้อม
กระบวนการทำเส้นยืน เส้นพุ่ง การสืบ การป้ายสี การกรอ
เทคนิคการทอผ้าพื้น การทอผ้ามัดหมี่
หรือทอลายสลับ การทอตีนจก
และการทอด้ายหลาย ๆ ตะกอ
5533504 งานย้อม 1
2(1-2)
Dyeing and Weaving 1
ศึกษาเครื่องมือใช้ในการย้อมแบบพื้นบ้าน
การจัดประเภทของผ้าสำหรับนำไปย้อม
ชนิดและคุณสมบัติของสีพื้นบ้านที่ใช้ย้อม เช่น มะเกลือ คราม
ครั่ง
แก่นไม้ เปลือกไม้ ฯลฯ ฝึกปฏิบัติการย้อม วิธีมัดย้อม
และสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องตกแต่งประยุกต์เข้ากับวัสดุอื่นได้อย่างเหมาะสม
5533505 งานย้อม 2
2(1-2)
Dyeing and Weaving 2
เรียนรู้เรื่องเครื่องมือเครื่องใช้ในการย้อมแบบอุตสาหกรรม
ศึกษาความเป็นมา สีสังเคราะห์ คุณสมบัติของสีย้อมชนิดต่าง ๆ
ทฤษฎีสีย้อม การจำแนก
สีย้อมในลักษณะการใช้งาน
ฝึกปฏิบัติการย้อมสีต่างชนิด กรรมวิธีการย้อมสีชนิดต่าง ๆ
ด้วยเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม
การจัดรูปแบบของวัสดุที่
ย้อมให้สัมพันธ์กับเครื่องจักรที่ใช้
การแก้ไขปัญหาย้อมสีอย่างถูกต้องและปลอดภัย
5533506 งานพิมพ์ 2
3(2-2)
Graphic Arts 2
ศึกษาประวัติความเป็นมา วิวัฒนาการของงานพิมพ์ วัสดุอุปกรณ์
เคมีภัณฑ์ เครื่องมือ เครื่องใช้และการบำรุงรักษา
คุณสมบัติของสีที่ใช้ในการพิมพ์
ผ้าต่าง ๆ ชนิดกระบวนการพิมพ์ผ้าแบบต่าง
ๆ เช่น การพิมพ์บล๊อกไม้ พิมพ์แบบลูกกลิ้ง การพิมพ์ลาย
การพิมพ์พื้นและรูปลอก การออกแบบลวดลาย การ
ใช้สี
เทคนิคการสร้างแม่พิมพ์จากเชือก ผลไม้ ยางลบ ฯลฯ
วิธีพิมพ์สีเดียวและหลายสี การนำเทคโนโลยีมาใช้ให้สัมพันธ์กับงานพิมพ์
5533601 สีย้อมหนัง
2(1-2)
Leather Dyeing Color
ศึกษาและปฏิบัติการย้อมสีหนัง การทำสี เคมีภัณฑ์
วัสดุอุปกรณ์ในการผลิตสี การเก็บและระวังป้องกันอันตรายจากสีย้อม
สูตรการผสมสี การทำสีชนิด
ต่าง ๆ ขึ้นใช้เอง
5533602 การออกแบบรูปทรงและลวดลาย
3(2-2)
Form and Decorative Design
ศึกษาและฝึกออกแบบรูปทรงและลวดลาย
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ชำนาญออกแบบรูปทรงทางเรขาคณิตและรูปทรงธรรมชาติ หลักการ
สเก็ตซ์ภาพและแบบตามรูปทรงต่าง
ๆ สร้างสรรค์รูปทรงและลวดลาย โดยกำหนดสัดส่วนต่าง ๆ
ให้มีมาตรฐานและเหมาะสม
เรียนรู้เรื่องการใช้สีให้
เหมาะสมกับรูปทรงและลวดลาย
รู้จักเลือกลายต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับการทำลาย เช่น ลายสำหรับดุน
ลายสำหรับดอก ลายสำหรับปั้ม ฯลฯ
5533603 งานเครื่องหนังอุตสาหกรรม
2(2-0)
Industrial Leather Work
ศึกษาขั้นตอนกระบวนการผลิตในการทำเครื่องหนังอุตสาหกรรม
การพัฒนารูปแบบเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องทุ่นแรงชนิดต่าง ๆ
ตามความต้องการ
ในการผลิตเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว
5533604 การสร้างเครื่องมืออุปกรณ์งานหนัง
3(2-2)
Making Tools for Leather Work
ศึกษาและปฏิบัติการสร้างเครื่องมือ
อุปกรณ์ขึ้นใช้เอง เช่น เหล็กตอกลาย เหล็กเจาะหู ฯลฯ
การนำวัสดุในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์
การปรับปรุงคุณภาพ
ของวัสดุอุปกรณ์ให้ดียิ่งขึ้น
ซ่อมแซมเครื่องใช้ที่สึกหรอให้สามารถใช้การได้
5533605 การออกแบบและผลิตงานหนังเฟอร์นิเจอร์
3(2-2)
Leather Furniture Design and Products
ศึกษาและปฏิบัติการออกแบบ และผลิตงานหนังเฟอร์นิเจอร์ เช่น
บุเก้าอี้หนัง เก้าอี้นอน โซฟา เบาะรถยนต์ ฯลฯ
โดยใช้วัสดุทั้งหนังแท้และหนังเทียม
หนังลวดลายสวยงามสำหรับติดฝาผนัง
เน้นกระบวนการทางด้านอุตสาหกรรมและความต้องการของตลาด
5533606 การออกแบบและผลิตกระเป๋า
3(2-2)
Bag Design and Products
ออกแบบและผลิตกระเป๋าตามแบบสมัยนิยมและตามแฟชั่น
โดยฝึกตามแบบและตามความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทั้งใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ
มาประกอบ
ในการออกแบบ และผลิตฝึกการแยกแบบ ตัดแบบ และออกแบบชิ้นส่วนต่าง
ๆ ฝึกแบบการเย็บวิธีต่าง ๆ และประกอบให้สวยงาม
สามารถสร้างแบบถาวร
สำหรับงานอุตสาหกรรม สามารถผลิตกระเป๋าต่าง ๆ เช่น
กระเป๋านักเรียน กระเป๋าเอกสาร กระเป๋าสุภาพบุรุษและสตรีตาม แฟชั่น
กระเป๋าเดินทาง ฯลฯ
5533701 งานหล่อปูนปลาสเตอร์ 1
3(2-2)
Plastering 1
ศึกษาลักษณะและคุณสมบัติของปูนปลาสเตอร์ วิธีทำ การใช้
การเก็บรักษาวัสดุ เครื่องมือเครื่องใช้ การบำรุงรักษา
กระบวนการทำพิมพ์ การเตรียม
รูปต้นแบบการหล่อรูปนูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว
ขนาดเล็ก
5533702 งานหล่อปูนปลาสเตอร์ 2
3(2-2)
Plastering 2
ศึกษาและปฏิบัติการทำแม่พิมพ์ การหล่อรูปลอยตัว
ขนาดกลาง การหล่อรูปคน-สัตว์ แบบนั่ง และแบบยืน ครึ่งตัว-เต็มตัว
การหล่อโดยใช้โครงสร้าง
เสริมลวดเหล็ก การตัดต่อและตกแต่งรูปสำเร็จ
5533703 งานหล่อปูนปลาสเตอร์ 3
3(2-2)
Plastering 3
วิเคราะห์การหล่อรูปประติมากรรมลอยตัว
ขนาดกลางและขนาดใหญ่ การเตรียมรูปต้นแบบ กระบวนการทำแม่พิมพ์
หล่อรูปสำเร็จ การตกแต่งพื้น
ผิว การเคลือบสี
5533704 งานหล่อซีเมนต์ 1
2(2-0)
Cement 1
ศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของปูนซีเมนต์
แหล่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิตปูนซีเมนต์ชนิดต่าง ๆ คุณภาพ
ตลอดจนการนำไปใช้งาน คุณสมบัติ
และการเก็บรักษา
การผสมปูนที่ใช้ในงานหล่อชนิดต่าง ๆ
5533705 งานหล่อซีเมนต์ 2
3(2-2)
Cement 2
ศึกษาและปฏิบัติงานเกี่ยวกับรูปต้นแบบชนิดต่าง ๆ เช่น แบบนูนต่ำ
นูนสูงและแบบลอยตัว การแบ่งส่วนต่าง ๆ ของรูปต้นแบบ การทำแบบชั้นเดียว
พิมพ์ชิ้นจากต้นแบบนูนต่ำ นูนสูง ลอยตัว ฝึกปฏิบัติการหล่ออัดแห้ง
หล่ออัดเปียก การหล่อชิ้นแบบจากแม่พิมพ์ชนิดต่าง ๆ
5533706 งานหล่อขี้ผึ้ง
2(1-2)
Waxing
ศึกษาเกี่ยวกับการหล่อขี้ผึ้ง การจัดหาแบบ การทำแบบ
การทำพิมพ์ เพื่อหล่อขี้ผึ้ง กรรมวิธีการหล่อขี้ผึ้ง การตกแต่งแบบ
ปฏิบัติการหล่อขี้ผึ้งในแบบ
นูนต่ำ นูนสูงและลอยตัว
5533707 งานหล่อพลาสติก 1
2(1-2)
Plastic 1
ศึกษาเกี่ยวกับวัสดุและอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับงานหล่อพลาสติก
การทำแม่แบบชนิดต่าง ๆ เช่น การทำแม่แบบถลก การทำแม่แบบแยกส่วน
ปฏิบัติการหล่อ
พลาสติกรูปนูนต่ำ นูนสูง ลอยตัว และฝึกหัดทำของชำร่วย
5533708 งานหล่อพลาสติก 2
2(1-2)
Plastic 2
ศึกษาเกี่ยวกับชนิดและกรรมวิธีผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก
ประเภท หยกเทียม งาช้างเทียม หินอ่อนเทียม หินทรายเทียม เซรามิกส์เทียม
ไม้แกะสลัก
เทียม ปฏิบัติการหล่อพลาสติกชนิดต่าง ๆ
ศึกษาปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาเหตุขัดข้องที่เกิดจากการปฏิบัติงาน
5533709 พลาสติกเบื้องต้น
2(2-0)
Introduction to Plastic
ศึกษาถึงโครงสร้างของพลาสติกชนิดต่าง ๆ ได้แก่
พลาสติกเทอร์โมเซทติ้ง เทอร์โมพลาสติก พีวีซี โพลีสตีรีน โพลีเอธีลีน
ไฟเบอร์กล๊าส ศึกษาถึง
คุณสมบัติของสารเสริมคุณสมบัติ (Additives) ต่าง
ๆ ที่นำมาผสมในพลาสติก
ศึกษาคุณสมบัติและการนำไปใช้งานของพลาสติกชนิดต่าง ๆ
5533710 ออกแบบผลิตภัณฑ์พลาสติก
2(1-2)
Plastic Product Design
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรง (Form)
ประโยชน์ใช้สอย (Functing)
ศึกษาถึงอิทธิพลและขอบเขตจำกัดที่มีต่อการลอกแบบและการใช้งาน
ประโยชน์ใช้สอยของพลาสติกในงานต่าง ๆ
5533711 เทคโนโลยีการเคลือบพลาสติก
2(1-2)
Plastic Lamination Technology
ศึกษาเทคนิคการเคลือบพลาสติกเหลว
พลาสติกผงและเคลือบด้วยสารต่างชนิดศึกษากรรมวิธีการเคลือบด้วยการอบ
การพ่น การชุบ ศึกษาถึงเทคนิค
และเทคโนโลยีต่าง ๆ
ที่นำมาใช้ในการเคลือบผิวพลาสติก
5533712 เทคโนโลยีการทำแม่แบบหล่อพลาสติก
2(1-2)
Plastic Molding Technology
ศึกษาถึงเทคนิคการสร้างแบบโมลด์ชนิดต่าง ๆ
ศึกษาโครงสร้าง เทคนิคงานและการสร้าง
รวมถึงการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์มาทำโมลด์พลาสติกให้
เหมาะสมกับงานหล่อและงานกดขึ้นรูป
ศึกษาเทคนิคการทำงานหล่อพลาสติกในรูปแบบต่าง ๆ
การหล่อโดยใช้ระบบเครื่องกลไกชนิดต่าง ๆ เช่น ระบบ
เครื่องผ่อนแรง
การหล่อโดยใช้โมลด์โลหะและอโลหะ
5534101 งานพลาสติก
2(1-2)
Plastics
ความรู้เกี่ยวกับพลาสติก
ความหมายของพลาสติกและความสำคัญของพลาสติกที่มีบทบาทต่อชีวิตมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาของ
พลาสติกจนถึงปัจจุบัน
ประเภทพลาสติกและคุณสมบัติของพลาสติกชนิดต่าง ๆ
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง วิธีการตรวจสอบพลาสติก กรรมวิธีการผลิตแบบ
ต่าง
ๆ ในอุตสาหกรรมพลาสติก มีประสบการณ์ในการทำงานด้วยพลาสติก
โดยเฉพาะประเภท Thermoplastic โดยใช้เทคนิคการทำงานด้วยวิธี
ต่าง ๆ เช่น
พลาสติกแห้ง (Shedt Working) Fiber-glass Laminating, Decorative
Laminating, หล่อด้วยพลาสติก, Sculpturing
โดยให้
มีความรู้ความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมือ
การรักษาความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน การออกแบบที่เหมาะสม
ลำดับขั้นการปฏิบัติงาน การตกแต่งใน
ขั้นสำเร็จโดยวิธีต่าง ๆ
5534102 งานประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็กและสื่อการสอน
2(1-2)
Toys and Teaching Aids for Child
ศึกษาความสำคัญของของเล่นและการเล่นของเด็ก
เพื่อออกแบบและประดิษฐ์ของเล่นให้เหมาะสมกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละวัย
รวมทั้งศึกษาความ
สำคัญ การใช้สื่อ
เพื่อออกแบบและประดิษฐ์สื่อให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน
5534103 หลักการออกแบบงานศิลปหัตถกรรม
2(1-2)
Arts and Crafts Design
ศึกษาและปฏิบัติให้เกิดความรู้
และความเข้าใจในการออกแบบที่เน้นในด้านประโยชน์ใช้สอยและความงาม
โดยการนำเอาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีมาประยุกต์ลงในแบบ
เพื่อให้เกิดความสะดวกสบาย ความเหมาะสมกับหน้าที่ใช้งาน
รวมทั้งด้านความงามด้วย ตลอดจนการบรรจุหีบห่อ
การเก็บรักษาในคลังพัสดุ
การเคลื่อนที่ย้ายและการขนส่ง
โดยคำนึงถึงวัสดุที่เป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่ภายในประเทศเป็นหลัก
เช่น
เครื่องเคลือบดินเผา เครื่องไม้เครื่องไม้ไผ่-หวาย โลหะ
ถักทอและฟอกย้อม เป็นต้น
5534104 การพัฒนาหัตถกรรมพื้นบ้าน 2(2-0)
Arts and Crafts Development
ศึกษางานหัตถกรรมพื้นบ้านสาขาต่าง ๆ
ตลอดจนแหล่งผลิตแบบอย่างการนำวัตถุดิบมาใช้ การใช้เครื่องทุ่นแรง
กรรมวิธีการผลิต ปัญหาและการ
ประกอบอาชีพและวัตถุดิบ
การอนุรักษ์และการนำไปพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน
5534105 เทคโนโลยีในงานศิลปหัตถกรรม
2(2-0)
Arts and Crafts Technology
ศึกษาหลักการของเทคโนโลยี กระบวนการผลิต
ระบบงานอุตสาหกรรมที่นำมาประยุกต์ใช้กับงานศิลปหัตถกรรมเทคโนโลยีต่าง ๆ
ที่เกี่ยวกับวัสดุใน
งานศิลปหัตถกรรม ได้แก่ ดิน ไม้ รัก เส้นใย หนัง
กาว พลาสติก สี โลหะ และยาง เป็นต้น ศึกษาเคมีประยุกต์ พลังงาน
และเชื้อเพลิง เป็นต้น
5534201
งานแกะสลักลวดลาย 3(2-2)
Designing and Carving
ออกแบบ-เขียนแบบ ถ่ายภาพ ลอกลาย
การเตรียมวัสดุให้เหมาะสมกับงานแกะสลักเพื่อให้มีคุณค่าทางศิลปะ
และประโยชน์ใช้สอย การใช้เครื่องมือ
และอุปกรณ์งานแกะสลัก
ตลอดทั้งการเก็บและรักษา
เทคนิคการตกแต่งและเคลือบผิวชิ้นงานด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ โดยละเอียด
วิเคราะห์และปฏิบัติงานแกะ
สลักลวดลาย เช่น ลวดลายนูนสูง นูนต่ำ ฯลฯ
5534202 งานแกะสลักรูปลอยตัว
3(2-2)
Bas-Rerief Carving
ออกแบบ-เขียนแบบ ถ่ายภาพ ลอกลาย
การเตรียมวัสดุให้เหมาะสมกับงานแกะสลักเพื่อให้มีคุณค่าทางศิลปะ
และประโยชน์ใช้สอย การใช้เครื่องมือ
และอุปกรณ์งานแกะสลัก
ตลอดทั้งการเก็บและบำรุงรักษา เทคนิคการตกแต่งและเคลือบผิวชิ้นงาน
ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ โดยละเอียด วิเคราะห์ และปฏิบัติ
งานแกะสลักรูปลอย
เช่น รูปสัตว์ ฯลฯ
5534203 งานกลึงเครื่องใช้ 3(2-2)
Appliance Wood Leather Working
ออกแบบ-เขียนแบบ ขยายแบบ การเตรียมวัสดุ
การใช้เครื่องมือและบำรุงรักษาการตกแต่งผิวและเคลือบผิว
วิเคราะห์และปฏิบัติงานกลึงเครื่องใช้
5534204 งานกลึงเครื่องประดับ
3(2-2)
Furniture Wood-Leather Working
ออกแบบ-เขียนแบบ ขยายแบบ การเตรียมวัสดุ
การใช้เครื่องมือและบำรุงรักษาการตกแต่งผิวและเคลือบผิว
วิเคราะห์และปฏิบัติงานกลึงเครื่องประดับ
5534205 งานไม้ไผ่และงานหวาย
3(2-2)
Bamboo and Rattan
ชนิดของไม้ไผ่และชนิดของหวาย
ตระกูลของไม้ไผ่ที่อยู่ในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย
เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้กับงานไม้ไผ่และหวาย เช่น ม้านั่ง
โต๊ะ
โคมไฟของเด็กเล่น เครื่องประดับตกแต่ง วิธีต่อยึด จักสาน ขัดลาย ฯลฯ
การใช้กรรมวิธีทางฟิสิกส์เคมีเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของไม้ไผ่และหวาย
เพื่อ
ปรับปรุงงานให้เกิดคุณค่าแก่สังคม
และประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้อย่างเหมาะสม
5534206 เทคนิคงานสาน 2 3(2-2)
Weaving Techniques 2
ศึกษาทดลองปฏิบัติเกี่ยวกับการนำแบบอย่างลายสานชนิดต่าง ๆ
โดยการประยุกต์ใช้ให้เข้ากับวัสดุอื่น ๆ เช่น กก ปอ ใบลาน เชือก
และเส้นใยต่าง ๆ
มาใช้กับงานสานอย่างละเอียด ให้เกิดคุณค่าทางศิลปะ
ตลอดจนนำลายสานมาประกอบตกแต่งงานประดับและเครื่องใช้ประเภทต่าง ๆ
5534207 งานเครื่องเรือน 3(2-2)
Household
ศึกษาค้นคว้าทดลองและปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกแบบ
เขียนแบบเครื่องเรือนแบบต่าง ๆ
ที่ใช้กรรมวิธีการผลิตอย่างเหมาะสมและยุ่งยากขึ้น เช่น
เก้าอี้ โต๊ะ
เตียงชั้นวางของ ชุดรับแขก ฯลฯ
5534208 เทคโนโลยีงานไม้ไผ่และหวาย
2(1-2)
Bamboo and Rattan Technology
ศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติงานด้านการประยุกต์งานไม้ไผ่และงานหวาย
การใช้เคมีภัณฑ์ในการรักษาเนื้อไม้ไผ่และหวายให้คงทนถาวร
การเคลือบ
ผลิตภัณฑ์ของใช้ลายสาน อัดพลาสติก อัดเรซิน การอัดแบบด้วยกาว
ฯลฯ เทคนิคการย้อมสี การประยุกต์งานการออกแบบ ตลอดจนกรรมวิธี
การทำพิมพ์
การอัดพิมพ์
รวมไปถึงการศึกษาเครื่องมือเครื่องจักรที่เกี่ยวกับงานผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่
และหวาย ในงานหัตถกรรมและอุตสาหกรรมอย่างละเอียด
5534301 งานแม่พิมพ์ ปั้น ชุบโลหะ
3(2-2)
Mold and Die Making
ออกแบบงานแม่พิมพ์ งานปั้นรูปที่ยากขึ้น
การสร้างแม่พิมพ์ที่ยากขึ้น เป็นเครื่องใช้ประกอบลวดลาย
การใช้ตารางในการออกแบบลวดลาย การระวัง
เส้นริมขอบนอกลาย
การฉลุแม่พิมพ์และชุบแม่พิมพ์ การปั้นรูปตัดพิมพ์
แผ่นโลหะที่ยากขึ้นการประกอบชิ้นงานที่ยากขึ้น
5534302 การชุบและการรมสีบนผิวโลหะ
3(2-2)
Plating and Metal Finishing
ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะและคุณภาพของเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการชุบ
และการชุบงานโลหะ การชุบเงิน การชุบทองแดง การรมดำ การรมสีผิวโลหะ
การทำ
ความสะอาดตลอดจนการทำน้ำชุบ และน้ำยารมดำชนิดต่าง ๆ เครื่องมือ
เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
5534303 การลงยาสี
3(2-2)
Lacquering
ศึกษาคุณลักษณะและคุณสมบัติของเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการทำยาสี การผสม
การเผา และการบดยาสี การลงยาสีบนโลหะ การสลักลวดลาย การทำความ
สะอาด
การขัด การแต่งผิว การลงยาสี และการตกแต่ง
5534401 งานประดิษฐ์เครื่องถม
2(1-2)
Silverware Making
ศึกษาถึงลักษณะและประเภทของเครื่องถมที่ใช้อยู่ทั่ว ๆ ไป
ชนิดของโลหะที่นำมาใช้เป็นตัวโครง และการเตรียมวัสดุที่จะนำมาทำถม กรรมวิธีและ
เทคนิคในการทำ การออกแบบเครื่องถมเพื่อทำเป็นเครื่องประดับ เครื่องใช้
ของชำร่วย โดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยและคุณค่าในทางศิลปะ การขัดทำ
ความสะอาด และการถนอมรักษาเครื่องถมตามวิธีที่ถูกต้อง
5534402 งานเครื่องเขิน 3(2-2)
Nielloware Crafts
ลักษณะและประเภทของเครื่องเขิน
ความงามและคุณค่าของเครื่องเขิน ศึกษาถึงวัสดุเครื่องมือ อุปกรณ์
และกรรมวิธีในการทำเครื่องเขิน ฝึกทำ
เครื่องเขินจากโครงชนิดสาน
โครงไม้กลึงและแกะสลัก การออกแบบเป็นเครื่องประดับ ตกแต่ง
เครื่องใช้สอย ภาชนะ เครื่องเล่น การใช้สี การเขียนลาย
การจำหลักและการตกแต่งขั้นสำเร็จ
ตลอดจนการรู้จักรักษาเครื่องเขินให้คงสภาพเดิม
และเพิ่มอายุการใช้งานให้ยืนนานยิ่งขึ้น
5534403 งานเครื่องรัก 7
3(2-2)
Lacquerware Crafts 7
งานเครื่องรักประกอบดุริยางค์และนาฏศิลป์ 1
ศึกษาเกี่ยวกับการ ออกแบบและการประดับตกแต่งเครื่องใช้
เครื่องประดับและเครื่องประดับในงาน
ดุริยางค์และ
นาฏศิลป์ที่สามารถทำกรรมวิธีงานเครื่องรักไปประยุกต์ใช้ได้
5534404 งานเครื่องรัก 8 3(2-2)
Lacquerware Crafts 8
งานเครื่องรักประกอบดุริยางค์และนาฏศิลป์ 2
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบและการประดับตกแต่งเครื่องใช้
เครื่องประดับและเครื่องประดับ
ในงาน ดุริยางค์และนาฏศิลป์
ต่อจากรายวิชาเครื่องรัก 7
5534405 งานเครื่องรัก 9 3(2-2)
Lacquerware Crafts 9
งานเครื่องรักประกอบเครื่องประดับตกแต่ง 1
ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบประยุกต์กรรมวิธีงานเครื่องรักไปใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่อง
ประดับและเครื่องตกแต่ง
ทั้งบุคคลและสถานที่
การออกแบบและปฏิบัติการทำเครื่องประดับตกแต่งตามที่ได้ออกแบบไว้
5534406 งานเครื่องรัก 10 3(2-2)
Lacquerware Crafts 10
งานเครื่องรักประกอบเครื่องประดับตกแต่ง 2
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบและประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับตกแต่งบุคคลและสถานที่
ด้วยกรรมวิธีงานเครื่องรัก ต่อจากรายวิชาเครื่องรัก 9
5534407 งานเครื่องรัก 11 3(2-2)
Lacquerware Crafts 11
เทคโนโลยีงานเครื่องรัก
ศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบผลิตงานเครื่องรัก
โดยการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตให้มีคุณภาพ
ประสิทธิภาพ
มีปริมาณการผลิตที่สูงขึ้น เพื่อนำไปสู่การอุตสาหกรรม
5534501 งานเขียนผ้าบาติก 2(1-2)
Batik
การออกแบบ การเขียนลาย ลวดลาย
รวมทั้งกรรมวิธีและเทคนิคการทำบาติก (Batik)
การรู้จักและเลือกใช้วัสดุสำหรับทำ เช่น ผ้า สีย้อม สารเคมี
น้ำเทียน
(Wax) การใช้เครื่องมือ เช่น ชานติ้ง (Tjanting) แปรง เตา
ภาชนะใส่ขี้ผึ้ง เป็นต้น โดยให้ความรู้ ทักษะในการเขียนผ้าบาติก
ประเภทใช้ตกแต่ง
เช่น ภาพประดับ และเสื้อผ้า ฯลฯ ในด้านการย้อมสี เช่น
การผสมสี การต้มขี้ผึ้ง ตลอดจนการเขียนบาติก และด้านการทำ Batik cab
โดยสามารถพิมพ์
ผ้าบาติกตามกระบวนการพิมพ์และเทคนิคของการย้อมผ้า
5534502 งานพิมพ์ 3
3(2-2)
Graphic Arts 3
ศึกษาต่อเนื่องจากงานพิมพ์ 2 (5533506)
เป็นการพัฒนาด้านเทคนิคและกระบวนการทำงานให้เกิดความชำนาญยิ่งขึ้น
โดยการรู้จักการออกแบบ
และแก้ปัญหาเพื่อให้มีแนวความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตผลงานใหม่
ๆ และสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5534503 งานซิลค์สกรีน 3(2-2)
Silk Screen
ศึกษาวิวัฒนาการของงานพิมพ์ วัสดุอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์
เครื่องมือ เครื่องใช้การบำรุงรักษา คุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในงานพิมพ์
กระบวนการพิมพ์ และ
กระบวนการทำพิมพ์โดยใช้สกรีน เช่น การทำกรอบไม้
การเลือกชนิด ขนาดของผ้าสกรีน ฯลฯ ปฏิบัติงานพิมพ์สีเดียวและแยกสี
การนำเทคโนโลยีมาใช้
กับงานสกรีน เช่น การพิมพ์สติกเกอร์
การทำแม่พิมพ์แลคเกอร์ฟิล์ม
รู้จักแก้ปัญหาและสามารถนำไปใช้ประกอบกับงานอื่นได้
5534504 งานเขียนลายบนผ้า 3(2-2)
Cloth Painting
ศึกษาและฝึกเรื่ององค์ประกอบศิลปะ และทฤษฎีการออกแบบ
เน้นหนักเรื่องทฤษฎีสีในด้านศิลป์ ความสัมพันธ์ของสีในการออกแบบ
ความสัมพันธ์
ระหว่างพื้นที่กับสี การใช้สีและการผสมสีตามหลักศิลปะ
การนำความรู้เกี่ยวกับสีทางศิลปะไปใช้กับงานออกแบบ เขียนลายผ้า
และการวางลวดลายให้
เหมาะสมกับตำแหน่งลักษณะการใช้งานศึกษาคุณสมบัติของผ้าและสีตามลักษณะการใช้งานได้เหมาะสม
รู้จักเลือกเครื่องมือใช้ในงานเขียนลายผ้า และ
สามารถใช้วัสดุอื่น ๆ
ในท้องถิ่นเป็นเครื่องเขียนได้อย่างชำนาญ ตลอดจนการรีดและการเก็บรักษา
5534505 งานบาติก มัดย้อม 3(2-2)
Batik, Tied Dyeing
ศึกษาเรื่องเครื่องมือเครื่องใช้
การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ งานบาติกและมัดย้อมตลอดจนการบำรุงรักษา จัดเก็บ
ฝึกการออกแบบ ลักษณะของลายที่ใช้งาน
บาติกแบบต่าง ๆ ได้ เช่น การเขียน
freehand บล็อก สเตนซินต์ ศึกษาการเลือกสี คุณสมบัติของสีที่ใช้ย้อม
มัดย้อมกับผ้าต่างชนิด หลักการคำนวณสารเคมี
ที่ใช้ย้อม
การเลือกเครื่องมือเครื่องใช้ในการเขียนลาย กรรมวิธีการเขียนลายผ้า
กรรมวิธีการมัดและพับย้อม การลงเทียน การย้อมสี การลอกเทียน
การ
ทำความสะอาด ผ้าก่อนนำไปใช้ และการเก็บรักษา
รู้จักวิธีการใช้เครื่องทุ่นแรงและเครื่องจักรกล
ศึกษาระบบไฟฟ้าที่เกี่ยวข้อง สามารถดัดแปลงและ ทำ
เครื่องใช้กับงานบาติก
มัดย้อมได้
5534506 การสร้างและการซ่อมเครื่องมือเครื่องใช้ในงานทอย้อมแบบพื้นบ้าน
2(1-2)
Dyeing and Weaving Machines
ศึกษาประเภทของเครื่องมือ
เครื่องทุ่นแรงและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทอแบบพื้นบ้าน
ลักษณะพื้นฐานของชิ้นส่วนของเครื่องมือ เครื่องทุ่นแรง หน้าที่
และการใช้งานของชิ้นส่วนต่าง ๆ ศึกษาการทำงาน กลไก และระบบต่าง ๆ
ที่สำคัญ การควบคุมการบำรุงรักษา
ตลอดจนการซ่อมแซมให้สามารถสร้างชิ้น
ส่วน อุปกรณ์
เครื่องมือเครื่องทุ่นแรง เช่น กี่ยืน กี่นั่ง กล หลา กระสวย ฟิล์ม ฯลฯ
โดยการนำเอาวัสดุท้องถิ่น มาประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม
เพื่อเป็น
การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านให้คงไว้
5534601 การออกแบบและผลิตรองเท้า
3(2-2)
Shoe Design and Products
สเก็ตซ์แบบตัวอย่างจากแคดตาลอคและจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ฝึกการสเก็ตซ์แบบรองเท้าตามสมัยและแฟชั่น โดยฝึกการแยกแบบ ตัดแบบ
ออกแบบชิ้นส่วน ของรองเท้าแบบต่าง ๆ จากหุ่น
ฝึกการใช้วัสดุอุปกรณ์ทดแทน ในการออกแบบโดยใช้เทคนิคใหม่ ๆ
ที่นิยมในประเทศและต่างประเทศ
5534602 การออกแบบและผลิตงานหนังเบ็ดเตล็ด
2(1-2)
Miscellaneous Leather Design and Products
ศึกษาและผลิตงานหนังเบ็ดเตล็ด เช่น เข็มขัด
กระเป๋าใส่เศษสตางค์ พวงกุญแจเข็มกลัดต่าง ๆ
เน้นกระบวนการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม ตามความ
ต้องการของตลาด
5534603 การผลิตงานหนังในท้องถิ่น 2(1-2)
Local Leather Products
ศึกษาและปฏิบัติงานหนังที่ผลิตในท้องถิ่น เช่น
หนังใหญ่ หนังตะลุง กลองชนิดต่าง ๆ เช่น กลองเพล กลองยาว รำมะนา
ซอชนิดต่าง ๆ เช่น ซออู้
ซอด้วง
พัฒนารูปแบบและวิธีการผลิตให้ดียิ่งขึ้น
5534604 การฝึกอบรมควบคุมโรงงาน 2(2-0)
Training of Manufactory Management
การกำหนดการปฏิบัติงาน วิธีลงเวลา
การจัดแผนงานตามแผนกต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กัน การเก็บรักษาวัสดุอุปกรณ์
สถิติในการผลิต การจัดโชว์ผลงาน
ที่ผลิต การพิจารณาค่าจ้าง
พระราชบัญญัติแรงงานทั่วไป การรักษาความปลอดภัย
และการติดตั้งเครื่องมือเครื่องจักร
5534701 งานหล่อโลหะ 1 2(1-2)
Iron Casting 1
ศึกษาคุณสมบัติต่าง ๆ ของโลหะที่นำมาใช้ในงานหล่อ
ส่วนรวมของโลหะหล่อ การหลอมโลหะ ศึกษาและปฏิบัติการทำแม่พิมพ์หล่อ
การหล่อโลหะ
ทั่วไป และตกแต่งขัดผิวโลหะหล่อ
5534702 งานหล่อโลหะ 2 2(1-2)
Iron Casting 2
ศึกษาและทดสอบชนิดของโลหะชนิดต่าง ๆ
ค้นคว้าทดลองและปฏิบัติการหล่อโลหะทั้งชนิดนูนต่ำ นูนสูง และลอยตัว
5534703 งานหล่อโลหะ 3 2(1-2)
Iron Casting 3
วิเคราะห์งานหล่อโลหะ การรมดำ การชุบโลหะทั่วไป การเชื่อม การบัดกรี
การย่อ และการขยายแม่พิมพ์
5534704 เทคโนโลยีการเชื่อมพลาสติก 2(1-2)
Plastic Welding Technology
ศึกษาเทคนิคการเชื่อมพลาสติกแบบต่าง ๆ
คุณสมบัติของเครื่องมือเชื่อมลาสติก
วัสดุและอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมพลาสติกชนิดต่าง ๆ
ชนิดของพลาสติก
ที่นำมาเชื่อม การออกแบบงาน การแยกเชื่อมพลาสติก
เทคนิคการปฏิบัติเชื่อมพลาสติก เพื่อนำไปใช้งานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
เช่น อ่างน้ำ ท่อ หม้อกรอง
น้ำและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่าง ๆ
ฝึกออกแบบงานเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานทางอุตสาหกรรม
5534705 ออกแบบไฟเบอร์กล๊าส 1 2(1-2)
Fiberglass Design 1
หลักการออกแบบไฟเบอร์กล๊าสและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ขั้นตอนต่าง ๆ ใน การออกแบบ
อิทธิพลของสีที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กล๊าส
ฝึกออกแบบร่าง
(Sketch Design) ออกแบบผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กล๊าส
โดยเน้นเรื่องรูปทรงและสีประโยชน์ที่จะนำไปใช้
5534706 ออกแบบไฟเบอร์กล๊าส 2 2(1-2)
Fiberglass Design 2
ปฏิบัติการขึ้นรูปไฟเบอร์กล๊าส
รวมถึงการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ มาออกแบบสร้างโมลด์ไฟเบอร์กล๊าส
จากโลหะ เช่น เหล็กอลูมิเนียม ทองเหลือง
ทองแดง และอโลหะ เช่น ปูน ไม้
5534707 ระบบการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก 2(1-2)
Plastic Production Technology
ศึกษาถึงกรรมวิธีและกระบวนการต่าง ๆ
ในการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก เช่นแบบอัด แบบฉีด แบบเป่า แบบรีด
แบบลูกกลิ้ง และแบบอัดแน่น เป็นต้น
ตลอดจนกรรมวิธีตกแต่งชิ้นงานพลาสติก
5534901 งานศึกษาค้นคว้าด้านศิลปหัตถกรรม 2(1-2)
Independent Study
วิเคราะห์วิจัยงานในสาขาศิลปหัตถกรรม
การเตรียมโครงการงานเฉพาะบุคคลภายใต้คำแนะนำของคณะกรรมการ
เพื่อค้นคว้าเขียนรายงาน
วิเคราะห์งานศิลปหัตถกรรมประเภทต่าง ๆ
การศึกษาเกี่ยวกับปัญหาของงานศิลปหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมในท้องถิ่น
ศึกษาถึงเครื่องมือ
การนำมาใช้
วิเคราะห์เพื่อความเข้าใจและการแก้ปัญหาให้บังเกิดผลงานทางเศรษฐกิจและสังคม
5534902 วิทยานิพนธ์ 1 2(1-2)
Thesis 1
ให้ทำวิทยานิพนธ์อย่างน้อย 1 ชิ้น
โดยเสนอเป็นเอกสารและงานการค้นคว้าทดลอง และวิจัย
5534903 วิทยานิพนธ์ 2 2(1-2)
Thesis 2
พื้นความรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติทุกวิชาที่ทางคณะกำหนด
นักศึกษากำหนดโครงการเฉพาะ การแสดงผลงานจากการค้นคว้า
และคลี่คลายความ
สามารถในการสร้างสรรค์และหาแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
ภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา และคณะกรรมการวิทยานิพนธ์
งาน
วิทยานิพนธ์ประกอบด้วย ภาคเอกสาร ค้นคว้า และงานศิลปหัตถกรรม
ภาคปฏิบัติ
และจัดทำวิทยานิพนธ์จะต้องปฏิบัติตามระเบียบของการทำวิทยานิพนธ์
โดยเฉพาะ
5534904 วิทยานิพนธ์ 3
2(1-2)
Thesis 3
พื้นความรู้วิชาที่ผ่านทั้งทฤษฎีและปฏิบัติทุกวิชาที่คณะวิชาฯ กำหนด
นักศึกษากำหนดโครงการเฉพาะ
การแสดงผลงานจากการแสดงค้นคว้าและ
คลี่คลายความสามารถในการสร้างสรรค์
หาแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา
และคณะกรรมการวิทยานิพนธ์
งานวิทยานิพนธ์ประกอบด้วย ภาคเอกสาร ค้นคว้า
และงานศิลปหัตถกรรม ภาคปฏิบัติ
จัดทำวิทยานิพนธ์จะต้องปฏิบัติตามระเบียบของการทำวิทยานิพนธ์
โดยเฉพาะ
5534905 วิทยานิพนธ์ 4
2(1-2)
Thesis 4
นักศึกษากำหนดโครงการเฉพาะของตนเอง
ให้เป็นผลงานค้นคว้าทางวิชาการ
เพื่อคลี่คลายปัญหาและเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้คำ
แนะนำ
ดูแลอย่างใกล้ชิดของอาจารย์ที่ปรึกษา และคณะกรรมการวิทยานิพนธ์
5534906 วิทยานิพนธ์ 5
2(1-2)
Thesis 5
พื้นความรู้วิชาผ่านทั้งทฤษฎีและปฏิบัติทุกวิชาที่ทางคณะกำหนด
นักศึกษากำหนดโครงการเฉพาะการแสดงผลงานจากการค้นคว้าและคลี่คลายความ
สามารถในการสร้างสรรค์และหาแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
ภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา และคณะกรรมการวิทยานิพนธ์
5534907 วิทยานิพนธ์ 6 2(1-2)
Thesis 6
พื้นความรู้จากทฤษฎีและปฏิบัติ
นักศึกษากำหนดโครงการเฉพาะการแสดงผลงานจากการค้นคว้า
การคลี่คลายความสามารถในการสร้างสรรค์หา
แนวทางในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
ภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา และคณะกรรมการวิทยานิพนธ์
5534908 วิทยานิพนธ์ 7
2(1-2)
Thesis 7
พื้นความรู้วิชาผ่านทั้งทฤษฎี
และปฏิบัติทุกวิชาที่ทางคณะกรรมการกำหนด นักศึกษากำหนดโครงการเฉพาะ
การแสดงผลงานจากการค้นคว้า และ
การคลี่คลายความสามารถในการสร้างสรรค์
และหาแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
ภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการวิทยา
นิพนธ์
ประกอบด้วยภาคเอกสาร การค้นคว้า และงานศิลปหัตถกรรม ภาคปฏิบัติ
5534909 ปัญหาพิเศษศิลปหัตถกรรม 2(1-2)
Special Problem
ทฤษฎีและวิธีการหาข้อมูล
การใช้เครื่องมือและวิธีการสำหรับการรวบรวมข้อมูล
การสร้างงานและการค้นคว้าพิเศษ
|